2020 ENTERTAINMENT
DUNDARA
2020 Society 2020 Society

รู้จัก Phobia (โรคกลัว)

ความกลัว (fear) หรือความวิตกกังวล (Phobia) เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ถือเป็นอารมณ์พื้นฐานที่เกิดขึ้นเมื่อถูกคุกคาม หรือเจออันตราย ไม่ว่าจะเป็นการกลัวภัยธรรมชาติ กลัวการถูกทำร้าย กลัวความเจ็บปวด ซึ่งการกลัวในสิ่งต่างเหล่านี้ ถือเป็นความกลัวที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ

แต่ Phobia  (โรคกลัว) นั้นรุนแรงกว่าอาการวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป โดยผู้ป่วยจะเผชิญภาวะของความกลัวนี้นี้เป็นเวลานาน และมักแสดงปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายและจิตใจร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ใจสั่น มือสั่น มือชา เท้าชา เหงื่อออก บางคนหากเป็นมากอาจถึงขนาดเป็นลมหมดสติได้

ประเภทของโรคกลัว ที่มักจะพบเห็นได้บ่อย ๆ

  1. โรคกลัวความสูง อาการที่เกิดขึ้นคือกลัวการขึ้นไปบนที่สูงทุกชนิด บางคนถึงขนาดที่ว่าแม้แต่เดินขึ้นบันไดหรือขึ้นสะพานลอยก็รู้สึกกลัวจนขาสั่น บางคนกลัวจนเกิดอาการตื่นกลัว เวียนหัว คลื่นไส้วิงเวียนตาลาย ซึ่งทำให้ใช้ชีวิตมีความยากลำบากมากขึ้น

 

  1. โรคกลัวสัตว์ อันที่จริงสัตว์หลายชนิดที่ควรกลัว เพราะเป็นสัตว์ที่มีอันตราย เช่น งู ตะขาบ จระเข้ แมลงมีพิษ แต่ถ้ามีอาการกลัวสัตว์เหล่านี้อย่างรุนแรง จนกระทั่งแม้แต่เห็นภาพสัตว์เหล่านี้ก็เกิดอาการกลัว ใจสั่นกลัวจนจะเป็นลม อันนี้ถือว่าเป็นความกลัวที่ผิดปกติ หรือบางคนอาจจะมีอาการกลัวสัตว์ที่ไม่ควรจะกลัวมากจนผิดปกติ เช่น กลัวนก กลัวไก่ กลัวแมว กลัวจิ้งจก กลัวผีเสื้อ

 

  1. โรคกลัวที่แคบ มีบางคนที่กลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น กลัวลิฟต์ กลัวการเดินเข้าอุโมงค์ บางคนเป็นมากถึงขนาดไม่สามารถนั่ง หรือยืนอยู่ในที่แคบ ๆ หรือแออัดได้เลย เพราะจะมีอาการแน่นหน้าอก ตาลาย หายใจไม่ออกขึ้นมาทันที

 

  1. โรคกลัวเลือด จะมีอาการคือเห็นเลือดไม่ได้เลย แม้แต่แค่ตนเองมีเลือดออกเพียงนิดเดียวหรือแค่เห็นเลือดของคนอื่น ก็จะรู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้วิงเวียน จะเป็นลม บางคนเป็นมากอาจถึงขนาดเป็นช็อกจนหมดสติได้

 

  1. โรคกลัวเสียงดัง ได้แก่ กลัวเสียงฟ้าร้อง - เสียงฟ้าผ่า กลัวเสียงฝนตก กลัวเสียงประทัด กลัวเสียงลูกโป่งแตก กลัวเสียงเครื่องยนต์ กลัวเสียงบีบแตร กลัวเสียงโทรศัพท์ บางคนเป็นมากถึงขนาดใครพูดเสียงดังก็ตกใจกลัวจนตัวสั่น

 

  1. โรคกลัวความมืด โดยจะมีอาการหวาดกลัวที่รุนแรง ไม่สามารถอยู่ในที่มืดได้เลยแม้แต่นิดเดียว โดยถ้าต้องอยู่ในที่มืดจะมีอาการหวาดกลัวจนนอนไม่หลับและอาจมีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย

 

  1. โรคกลัวที่ชุมชน เป็นความรู้สึกกลัวการอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือบางรายอาจมีความวิตกกังวลหากต้องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่หลบหนีได้ลำบากหรือไม่มีคนช่วยเมื่อเกิดอาการตื่นกลัว

 

  1. โรคกลัวการเข้าสังคม ผู้ป่วยมักกลัวการพูดต่อหน้าบุคคลอื่น เนื่องจากเป็นกังวลว่าอาจทำตัวน่าอายในที่สาธารณะ ผูที่มีอาการรุนแรงอาจไม่กล้าออกไปเผชิญสังคมภายนอก เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือหลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูง

 

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาหากหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวได้และอาการป่วยไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ในกรณีที่ต้องได้รับการรักษา แพทย์อาจต้องใช้หลายวิธีควบคู่กันเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็น จิตบำบัด การบำบัดพฤติกรรม หรือแม้กระทั่งการใช้ยารักษา ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรค Phobia ที่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad

 

เรื่องราวแนะนำ
อัพเดทล่าสุด